ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ ชนัญชิดา ฤทธิ์รักษา

บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

1. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมทั้งอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
  - โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)  แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
        1. โครงสร้างเชิงกายภาพ (Physical Data Structure)
              อธิบายวิธีการจัดเก็บข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กและดิสก์
       2. โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logic Data Structure)
              อธิบายการจัดเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูลในระบบฐานข้อมูล แสดงให้เห็นถึงการจัดระเบียบการทำงานและการมีปฎิสัมพันธ์ภายในระบบฐานข้อมูลโดยมีลำดับขั้นจากหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดไปยังฐานข้อมูล

 โครงสร้างข้อมูล.(Data Structure)
 
ในการนำข้อมูลไปใช้นั้น เรามีระดับโครงสร้างของข้อมูลดังนี้ 
     - บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้ งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น 

     - ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น 

      - ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว(ID) ชื่อพนักงาน(name) เป็นต้น 

      - เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด 

      - ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น 

       - ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกัน เป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น

หน่วยในการวัดขนาดของข้อมูล
8 Bit = 1 Byte
1,024 Byte = 1 KB (กิโลไบต์)
1,024 KB = 1 MB (เมกกะไบต์)
1,024 MB = 1 GB (กิกะไบต์)
1,024 GB = 1TB (เทระไบต์) 


2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและเรียลไทม์

การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing)    
  • รวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆแล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ 
  • ทำการประมวลผลครั้งเดียว
  • จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
การประมวลผลแบบเวลาจริง (Real Time Processing)
  • การประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันที  
  • แสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ

  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น